วันจันทร์, 16 กันยายน 2567

เมืองคอนผวาพบปลาปีศาจสายพันธุ์ใหม่คาดลูกผสมระหว่างปลาหมอคางดำกับปลาในท้องถิ่นในจุดรับซื้อปลาหมอคางดำในท้องถิ่นบ้านผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ต.ท่าพญา อ.ปากพนัง /ดีเดย์ลงแขกอีกครั้ง 8 ส.ค.นี้ในลำคลองเขตรอยต่อ หมู่ 9 ต.ขนาบนาค กับ หมู่ 4 ต.เกาะเพช อ.หัวไทร

(7 ส.ค.) จากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเอเลี่ยนสปีชีส์มหันตภัยจากต่างแดน โดย น.ส.พ. เดลินิวส์ และเดลินิวส์ออนไลน์ได้นำเสนอข่าวแบบเกาะติดต่อเนื่องมาก เกือบ 2 เดือน ในขณะที่ภาคเอกชนโดยสหกรณ์กุ้งปากพนังและชมรมกุ้ง สงขลา-นครศรีฯ จัดกิจกรรม คิกออฟไล่ล่าจับปลาหมอคางดำในบ่อบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ใหญ่ของโครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งทะเล เนื้อที่ 184 ไร่ ในพื้นที่ตำบลขนาบนาคอำเภอปากพนัง เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมาซึ่งสามารถจับปลาหมอคางดำ ได้กว่า 3 ตัน จนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรมประมงและรัฐบาล ได้หันมาให้ความสำคัญในเรื่องนี้พร้อมกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมทั่วประเทศที่มีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำกว่า 17 จังหวัด โดยเฉพาะนายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้มีการตั้งจุดรับซื้อปลาหมอการดำกิโลกรัมละ 15 บาทจากเดิมที่มีการซื้อขายกันกิโลกรัมไม่เกิน 10 บาท

โดยล่าทางประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีการนัดลงแขกไล่ล่าปลาหมอคางดำในวันที่ 8 สิงหาคม 2561 ณคลองสาขาเขตรอยต่อหมู่ 4 ตำบลเกาะเพชรอำเภอหัวไทรกับหมู่ 9 ตำบลขนาบนาคอำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราชเริ่มตั้งแต่เวลา 9:00 น เป็นต้นไป ส่วนการตั้งจุดรับซื้อในจังหวัดนครศรีธรรมราชตามนโยบายของกรมประมงและรัฐบาลนั้น ได้มีการประกาศจุดรับซื้อปลาหมอคางดำในกิโลกรัมละ 15 บาทจำนวน 5 จุดประกอบด้วยจุดที่ 1 สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งปากพนังอำเภอปากพนัง 2 แพปลาพรเทพตำบลท่าพระยาอำเภอปากพนัง 3 แพปลาน้องเปียตำบลเกาะเพชรอำเภอหัวไทร 4 แพปลาพรชัยวัฒนาบริเวณสะพานปลาอำเภอปากพนังและ 5 แพปลาณัฏชัยนาคเกษมตำบลเกาะเพชรอำเภอหัวไทรจังหวัดนครศรีธรรมราช

ในขณะที่บ้านนายประทีป น้ำขาว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตำบลท่าพระยาอำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่มาโดยตลอด ได้พบปลาหมอบ้านตัวหนึ่ง มีปลาหมอบ้านตัวหนึ่ง ที่มีลักษณะผิดแผกไปจากปลาหมอบ้านทั่ว ๆ ไป สงสัยว่าอาจจะเป็นปลาหมอสายพันธุ์ใหม่ที่มีการผสมกันระหว่างปลาหมอกลางดำกับปลาหมอบ้าน จึงแจ้งนายไพโรจน์ รัตนรัตน์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช และสมาชิกชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสงขลานครศรี ฯพร้อม สมาชิกสหกรณ์เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำปากพนัง มาช่วยกันพิจารณาตรวจสอบตราหมอตัวดังกล่าว
โดยมีการนำปลานิล ปลาหมอเทศ ปลาหมอคางดำ และปลาหมอบ้านตัวดังกล่าวมาเปรียบเทียบกันเพื่อพิจารณาจุดแตกต่าง พบว่าปลาหมอบ้านตัวดังกล่าว มีรูปร่างลักษณะ ลำตัวกลมเรียวคล้ายลำตัวปลาช่อน ส่วนหัว เหมือนปลาหมอบ้านทั่ว ๆ ไป แต่มีลักษณะคางดำ ส่วนครีบและเกล็ด เกล็ดตามลำตัวจะมีสีดำสลับ เป็นช่วง ๆ จนถึงปลายหาง แตกต่างไปจากปลาหมอคางดำ ปลาหมอเทศ และปลาหมอบ้านอย่างชัดเจน โดยทุกคนซึ่งส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญด้านพันธุ์สัตว์น้ำเป็นอย่างดีต่างยืนยันว่าไม่เคยพบเห็นปลาลักษณะดังกล่าวมาก่อนสงสัยว่าจะเป็นปลาหมอสาย

พันธุ์ใหม่ที่มีการผสมกันระหว่างปลาหมอคางดำกับปลาหมอบ้านหรือปลาในท้องถิ่นชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างแน่นอน

 

ไพฑูรย์ อินทศิลา/นครศรีธรรมราช
7 ส.ค. 2566