เรียกอดีตความยิ่งใหญ่!!เมืองคอนเนรมิตประเพณี “มหาสงกรานต์ แห่งนางดาน อลังการตำนานเมืองนคร” 1 เดียวในเมืองไทย ภาคใต้ 31 มี.ค. 2023 185 share tweet share ( 31 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่หอพระอิศวร สถานโบสถ์พราหมณ์ ริมถนนราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรรมราช นายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ดร.กณพ เกตุชาติ นายกเทศมนตรีเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช นางพิชญ์สินี ทัศน์นิยม ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานนครศรีธรรมราช นายศิวพงศ์ กั้งสกุล ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวการสนับสนุนฟื้นฟูการจัดงานประเพณี “มหาสงกรานต์ แห่งนางดาน อลังการตำนานเมืองนคร” 1 เดียวในเมืองไทย ที่เคยจัดอย่างยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติ แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองและการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การจัดกิจกรรมเหลือเพียงประเพณีระดับท้องถิ่น นายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ตนมีนโยบายในการจัดกิจกรรมภายในจังหวัดขอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกันจัดเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งใหญ่อลังการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองนครศรีธรรมราช “นครสองธรรม” คือธรรมมะ และธรรมชาติ” พำราะจังหวัดนครศรีธรรมราชมีทรัพยากรที่เป็นต้นทุนด้านการท่องเที่ยวเพียบพร้อม สำหรับช่วงเทศกาลมหาสงกรานต์ในปี 2566 นั้นในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชกำหนดจัดกิจกรรม “พลังสร้างสรรค์ความดี นครศรีธรรมราชยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 11-20 เมษายน 2566 ณ.สนามลานตะเคียนและหน้าศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช มีกิจกรรมมากมายสอดคลองกับประเพณีมหาสงกรานต์ ประจำปี 2566 ในส่วนของเทศบาลก็กำหนดจัดงาน “มหาสงกรานต์ แห่งนางดาน อลังการตำนานเมืองนคร”ซึ่งเป็นประเพณีหนึ่งเดียวในเมืองไทย ขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 เม.ย. 2566 บริเวณหอพระอิศวร และสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช ส่วนทางสำนักงานท่องเที่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดจัดกิจกรรมขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 เม.ย. 2566 ณ.สนามตลาดริมน้ำเมืองลิกอร์ ดร.กณพ เกตุชาติ นายนายกเทศมนตรีนคร นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ประเพณีแห่งนางดานหรือที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกว่า “นางดาน” เป็นประเพณีตามตำนานและความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ที่ว่าในช่วงระหว่างวันขึ้น 7 ค่ำ เดือนอ้าย จนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ พระศิวะหรือพระอิศวรจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์เป็นระยะเวลา 10 ราตรี เพื่อประทานพรให้โลกมนุษย์อยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข โดยพระอิศวรจะบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในทุก ๆ ด้าน “การโล้ชิงช้านั้นสืบทอดกันมาในหมู่พราหมณ์ เป็นการจำลองตำนานการสร้างโลกตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ว่า เมื่อพระพรหมได้สร้างโลกขึ้นมาเสร็จแล้วได้ทูลเชิญ พระศิวะ ให้ยืนขาเดียวบนภูเขาลูกหนึ่ง โดยที่พญานาคทั้งหลายร่วมแรงกันกวนน้ำในมหาสมุทรและหากพระศิวะไม่อาจยืนได้ด้วยขาเดียวก็แสดงว่าโลกที่พระพรหมสร้างขึ้นนั้นไม่แข็งแรงพอ แต่ปรากฏว่าพระศิวะยังคงประทับยืนขาเดียวอยู่ได้ตลอดเวลา พระพรหมจึงเห็นว่าแผ่นดินที่สร้างขึ้นมานั้นมั่นคงเพียงพอแล้ว จึงได้ดำเนินการเนรมิตมนุษย์และเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกต่อไป” ประเพณีแห่นางดานเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อต้อนรับพระศิวะหรือพระอิศวรที่จะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์เพื่อประทานพรให้โลกมนุษย์อยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุขเป็นระยะเวลา 10 ราตรี โดยพระอิศวรจะบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในทุก ๆ ด้าน ดังนั้นบรรดามนุษย์และเทพชั้นรองจึงจัดพิธีต้อนรับด้วยการแห่ไม้กระดาน 3 แผ่น ที่แกะสลักเป็นรูปเทพชั้นรอง 4 องค์ ประกอบด้วยแผ่นที่ 1 รูปพระอาทิตย์ พระจันทร์ แผ่นที่ 2 รูปพระแม่คงคา และแผ่นที่ 3 รูปพระแม่ธรณี (ชาวนครศรีธรรมราชเรียกไม้กระดานที่แกะสลักว่า นางดานหรือนางกระดาน) เพื่อไปต้อนรับพระอิศวรที่เชื่อกันว่าจะเสด็จลงมาทางเสาชิงช้า จากนั้นจะมีพิธี “ตรียัมปวาย” และ “โล้ชิงช้า” เพื่อทดสอบความมั่นคง แข็งแรงของพื้นพสุธา ตามลำดับ โดยการ “โล้ชิงช้า” เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการประกอบพิธี “ตรียัมปวาย” ซึ่งเป็นพิธีกรรมของพราหมณ์ที่ชาวนครศรีธรรมราช เรียกพิธีกรรมและกิจกรรมทั้งหมดว่า “ประเพณีแห่นางดาน” และเป็นประเพณีที่นำความมั่งคั่งและมั่นคงแข็งแรงมาสู่บ้านเมือง และมีการประกอบพิธีในการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์รัชกาลต่าง ๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดมา เพิ่งมายกเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เพราะมีคนที่ขึ้นโล้ชิงช้าตกลงมาตาย จนในปี พ.ศ. 2544 นางสาวกิตติกา ลิขิตวศินกุล ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เขต 2 ในขณะนั้นได้สืบค้นในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าการโล้ชิงช้าหรือตรียัมปวายจะรวมอยู่ในประเพณี “แห่นางกระดาน” และเล็งเห็นว่าประเพณีดังกล่าวเป็นประเพณีเก่าแก่ ที่ควรค่าแก่การศึกษาและมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และคงจะหาดูชมประเพณีแห่นางกระดานที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เขต 2 (ในขณะนั้น) จึงร่วมกับเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ชมรมรักษ์บ้านเกิด วิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช และองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องฟื้นฟูประเพณี “แห่นางกระดาน” ขึ้นใหม่ และจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 “นอกจากจะเป็นการบูชาเทพยดาตามความเชื่อของพราหมณ์แล้วยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย โดยเชื่อว่าประเพณีนี้จะเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกให้เข้ามาศึกษาและสัมผัสประเพณีอันหาดูได้ยากในโลกปัจจุบัน จนกระทั้งปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมาจังหวัดนครศรีธรรมราชถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 9 เมืองโบราณของประเทศไทย และให้มีการจัดประเพณีมหาสงกรานต์ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้มีการผนวกเอาประเพณี “แห่นางดาน” มาจัดรวมในช่วงเวลาเดียวกัน จนกลายเป็นงานประเพณี “มหาสงกรานต์ แห่นางดานเมืองนคร” มาจนถึงปัจจุบัน ในปีนี้นครศรีธรรมราชถูกำหนดให้เป็น 1 ใน 11 เมืองและเป็น 1 ใน 2 เมืองของภาคใต้ที่จัดกิจกรรม “มหาสงกรานต์” และนับเป็นการจัดงานประเพณี “มหาสงกรานต์ แห่งนางดาน อลังการตำนานเมืองนคร” 1 เดียวในเมืองไทย” ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 22 นายกเทศมนตรีนคร นครศรีธรรมราช กล่าวอีกว่า ในปีนี้กำหนดจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 11-14 เมษายน 2566 ภายใต้รูปแบบหรือแนวคิดที่ว่า “มหามงคลแห่งชีวิต พุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์ สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ชมแห่นางดาน อลังการตำนานเมืองนคร” ในช่วงดังกล่าวจะเริ่มการประกอบพิธีบวงสรวงพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชและพิธีพุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์ 6 แหล่ง ณ สวนศรีธรรมาโศกราช และวันที่ 13 เมษายน 2566 “วันมหาสงกรานต์” จะมีการอัญเชิญ “พระพุทธสิหิงค์”พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐาน ณ.สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้สรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย แต่ไฮไลต์หรือหัวใจของการจัดงานจะมีขึ้นในวันที่ 14 เมษายน 2558 เริ่มตั้งแต่เวลา 18.30 น.หรือชาวบานเรียกว่า “ช่วงพลบค่ำ” ขบวนแห่นางดานเริ่มจากฐานพระสยม ตลาดท่าชี ตรงไปตามถนนราชดำเนิน เพื่อประกอบพิธี ณ.หอพระอิศวรสถานเทวสถานโบสถ์พรหมณ์ที่ใช้สำหรับจัดงาน “แห่นางดาน” มาตั้งแต่เริ่มต้น และในช่วงการประกอบ”พิธีตรียัมปวายและโล้ชิงช้า จะการจัดแสดงในรูปมินิไลท์แอนน์ซาวด์อย่างยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อสืบสานตำนานความยิ่งใหญ่เมืองนคร ซึ่งในปัจจุบันประเพณี “แห่งนางดาน-ตรียัมปวายและการโล้ชิงช้า” ยังคงปฏิบัติกันอย่างจริงจังที่นครศรีธรรมราชเพียงแห่งเดียวในเมืองไทยเท่านั้น และคาดว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราชมากกว่าทุก ๆ ปี โดยยังมีเป้าหมายหลักคือการเดินทางไปกราบนมัสการองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคารพศรัทธของผู้คนทั่วโลกที่กระจายอยู่ทั่วทั้ง 23 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลและจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วย https://www.khaotuathai.com/wp-content/uploads/2023/03/awdawd.mp4 ไพฑูรย์ อินทศิลา/นครศรีธรรมราช